โอมาร์ คัยยาม (18 พฤษภาคม ค.ศ. 1048 - 4 ธันวาคม ค.ศ. 1131; เปอร์เซีย عمر خیام) เกิดในเมืองเนชาปูร เมืองหลวงของเขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่าน)
โอมาร์ คัยยาม เป็นกวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และ แพทย์ ชาวเปอร์เซีย เขาเป็นผู้ประพันธ์ รุไบยาตอันลือชื่อ คัยยามมีชื่อในภาษาอาหรับว่า "ฆิยาษุดดีน อะบุลฟาติฮฺ อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลคอยยาม" (غياث الدين ابو الفتح عمر بن ابراهيم خيام نيشابوري) คำว่า "คัยยาม" (خیام) เป็นคำยืมจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า "ผู้สร้างกระโจมพัก"
มะลิกชาห์ ญะลาลุดดีน กษัตริย์ราชวงศ์สัลจูกได้มีรับสั่งให้คัยยามมาที่หอดูดาวแห่งใหม่ในเมืองเรย์ (Ray) ในราวปี 1074 เพื่อปฏิรูปแก้ไขปฏิทินสุริยคติที่ใช้ในอิหร่านเป็นเวลานาน คัยยามได้นำเสนอปฏิทินที่มีความถูกต้องแม่นยำและตั้งชื่อว่า อัตตารีค อัลญะลาลีย์ (เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ญะลาลุดดีน) ซึ่งมีความผิดพลาดเพียงวันเดียวในรอบ 3770 ปี และมีความถูกต้องเหนือกว่าปฏิทินเกรกอเรียนที่มีความผิดพลาด 1 วันใน 3330 ปี.
Rubáiyát (รุ บา อิ ยาต)
รุไบยาต เป็นชื่อเรียกคำประพันธ์ภาษาเปอร์เซีย หนึ่งบทมีสี่บาท รุไบยาตที่เป็นที่รู้จักกันดีเป็นผลงานการประพันธ์ของโอมาร์ คัยยัม นักคิดนักคณิตศาสตร์ชาวอิหร่านผู้แต่งกลอนเป็นเพียง “ยามว่าง” ..คารวะหนึ่งจอก
รุไบยาตเป็นที่รู้จักกันดีเมื่อเอ็ดเวิร์ด ฟิทซ์เจอรัลด์ กวีอังกฤษ ขณะเป็นนักศึกษาได้ขอให้สหายชาวอิหร่าน แปลบทกวีภาษาเปอร์เซียเหล่านั้นออกเป็นภาษาอังกฤษ และได้ทำการผูกเป็นบทประพันธ์จำนวน ๗๕ บท ซึ่งมีความไพเราะและงดงามมากจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว
ต่อมาโรเบิร์ท เกรฟส์ และโอมาร์ อาลีชาห์ได้ทำการศึกษาและพบว่าบทแปลของฟิทซ์เจอรัลด์นั้นตีความหมายผิดไปค่อนข้างมาก โดยมองข้ามความหมายโดยนัยลึก ๆ ของต้นฉบับไป
รุไบยาตของโอมาร์ คัยยัมนั้นเป็นบทกวีที่สอนสัจธรรมของชีวิต และหลักการวางตนในความไม่ประมาทตามรูปแบบของกวีนิพนธ์โรแมนติก บางตอนก็แอบเหน็บซะงั้น เช่นบอกว่าให้ดื่มสาเมามาย วานพรุ่งพะวงไปใย ..ก็วันนี้ยังหวานนักนี่เล่า
สิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฎในบทกวีล้วนเป็นสัญลักษณ์ เช่น กุหลาบ เหล้าองุ่น นกไนติงเกล ฯลฯ เปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและให้ความหมายลึกซึ้ง
ตัวอย่างเปรียบเทียบง่าย ๆ ตามความเข้าใจของเราก็เช่น
Clay คือขีวิต?
Wine คือสารัตถะแห่งชีวิต หรือ ความรักในพระเจ้า?
those who stood before the tavern คือโอกาส หรือเวลา?
Cup คือความภักดีต่อพระเจ้า???
เอ่อ ลองดูความเปรียบที่เห็นกันชัด ๆ ในกลอนดีกว่านะ
อย่าง
Life's Liquor in its cup,
Bowl we call the sky
หากอ่านเฉย ๆ ก็ได้รสไพเราะ ภาพชวนฝัน
แต่หากคิดกันลึก ๆ เห็นชัด ๆ ว่ากลอนนี้ ลึกซึ้งนัก
ดังน้าชาติ ประชาชื่อ เจ้าของคอลัมน์รู้ไปโม้ดในข่าวสดกล่าวไว้เช่นนี้
คัมภีร์รุไบยาตเป็นคัมภีร์ที่สอนเกี่ยวกับอะไร
ตอบ-รุไบยาต (Rubaiyat) ไม่ได้เป็นคัมภีร์ แต่เป็นวรรณคดีภาษาเปอร์เซีย ประพันธ์โดยฮะกิมโอมาร์ คัยยัม (Omar Khayyam) มหากวีเอกและนักปราชญ์คนสำคัญของโลก ผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยศตวรรษที่ 11-12
รุไบยาดเป็นบทกวีที่มีลีลาไพเราะ เนื้อเรื่องให้ข้อคิดเป็นปรัชญาชีวิต เชิญชวนให้คนเราค้นหาความสุขสบายจากรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสอย่างมีสติ
ซึ่งฟิทซ์เจอรัลด์ตกการตีความสัญลักษณ์เหล่านี้ไป ทำให้ภาพของโอมาร์ คัยยัมกลายเป็นกวีขี้เหล้าเจ้าสำราญ
ฉะนั้นแล้ว เกรฟส์และโอมาร์ อาลีชาห์ จึงแปลรุไบยาตจากภาษาเปอร์เซียออกเป็นภาษาอังกฤษอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร
และนี่คือตัวอย่างการคืนชีวิตซากดึกดำบรรพ์เปอร์เซียนของโอมาร์ คัยยัมออกเป็นภาษาอังกฤษ
Has flung the Stone that puts the Stars to Flight:
And Lo! the Hunter of the East has caught
The Sultan’s Turret in a Noose of Light.
Edward Fitzgerald
While Dawn, Day’s herald straddling the whole sky,
Offers the drowsy world a toast “To Wine”
The Sun spills early gold on city roofs.
Day’s regal host replenishing his jug.
Robert Graves & Omar Ali Shah
คนละภาพ คนละอารมณ์
แต่ธีมเดียวกัน คือ ณ ยามรุ่งอรุณ แสงทองสาดส่องจับทั่วเมือง จะเห็นได้ว่าบทแปลของเอ็ดเวิร์ด ฟิทซ์เจอรัลด์นั้นมีเรื่องราวและมีความเป็นเรื่องเล่ามากกว่าของโรเบิร์ท เกรฟส์
และเหล่านี้ คือรุไบยาต ที่คืนชีวิตมาเป็นภาษาอังกฤษ จากซากดึกดำบรรพ์ภาษาเปอร์เซีย
อรุณฤกษ์เบิกฟ้าเวหาสวรรค์
ทูตทิพาจะรังสรรค์พลันแผ่หา
ย่องเยื้องเยือนเตือนพิภพจบนภา
ยื่นหัตถาอ้าอำนวยอวยพรชัย
วิงวอนช่วยอวยสวัสดิ์พิพัฒน์ผล
มิ่งมงคลยลยามตามพิสัย
ปฐพีเพิ่งสร่างซานิทราลัย
ด้วยคำแท้แด่ไวน์วิวาห์วาร
สุรีย์บทสดใสไขแสงส่อง
สาดสีทองอ่องอาบทาบสุขศานต์
โพ้นหลังคานาครคามงามตระการ
เจ้าภาพผ่านชาญศักดิ์พิทักษ์ทิวา
ประทานเหยือกเลือกสรรอันเลิศแล้ว
ประจุแก้วเขาเปี่ยมเยี่ยมหนักหนา...
ดื่มก่อนเถิด ! ดื่มให้ วัยมนพ
แด่ชีวิตมิรู้จบ แห่งเหล้า
มาลีร่ำเรณูอบ หอมมิตร ภาพแฮ
ดื่มแด่ความสุขเจ้า ที่เย้ายวนชม ฯ
หากขนม (ปัง) กึ่งก้อนอิ่ม อาจหา
ร้อนอากาศอาจนิทรา ร่มไม้
ใช่ทาส - อีกทาสา หาไป่ มีแฮ
สุขแน่ ! โลกนี้ไซร้ สุขไร้ไหนเสมือน ฯ
ถามมาว่าคนคืออะไร ปัญหาใหญ่ยากเต็มทีนี้ผองเพื่อน
ตอบว่าคน - คือสัญลักษณ์เตือน เผยห้วงจักรวาลเลือนที่เลื่อนไป ฯ
มาหรรษาสุขสันต์กันไว้หน่อย ที่ถอยหวาดขลาดระแวงคงแล้งหาย
เพียงพริบตาล้ำค่าอย่าดูดาย ชีวิตพอวายกลายเป็นศพก็จบกัน ฯ
สุดทางข้างหน้าไกลรู้ไว้เถิด ใครจำเริศร้างราศมิอาจผัน
ทะเลล้นด้วยโลภะ - โทสะนั้น จำให้มั่น - วันผ่านไปไม่กลับมา ฯ